วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Power supply จ่ายไฟไม่พอ


 อาการ

เปิดติดแต่ไม่บู๊ต


หมายถึงเปิดแล้ว พัดลมของ เพาเวอร์ซัพพลาย หมุน แต่เครื่องไม่บู๊ต เป็นไปได้ว่า เพาเวอร์ซัพพลาย ไม่สามารถจ่ายไฟให้คอมพิวเตอร์ หรือจ่ายไฟได้ไม่พอ กรณีนี้ เพาเวอร์ซัพพลาย อาจจะไม่เสีย แต่จ่ายไฟได้ไม่พอกับกำลังที่คอมพิวเตอร์ต้องการ





อุปกรณ์บางตัวในคอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน


อุปกรณ์บางตัวไม่ทำงาน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม การ์ดจอ ไม่ทำงาน สาเหตุอาจเกิดจาก เพาเวอร์ซัพพลาย ไม่จ่ายไฟให้อุปกรณ์เหล่านั้นก็ได้ ตรวจสอบให้ก่อน อุปกรณ์อาจไม่เสีย แต่ที่เสียคือ เพาเวอร์ซัพพลาย





คอมดับพอเปิดสักพักก็ดับ พอเปิดอีกก็ดับไม่ได้ต้องถอดปลั๊กออก...แล้วเสียบใหม่ก็เปิดได้..แต่ก็ดับ


ตามหลักการ เมื่อระบบเริ่มทำงาน ระบบระบายความร้อน ยังไม่ทำงานเต็มระบบนัก จึงยังคงใช้พลังงานไฟฟ้าไม่มาก ต่อเมื่อทำงานไปได้สักระยะหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ.


1. ความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวแปรที่ทำให้ระบบ สั่งงานให้พัดลมระบายความร้อน ทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะ ชุดระบายความร้อนของ CPU , การ์ดจอภาพ ( ถ้ามี ) ในชุด Power Supply เอง ดังนั้นต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เมื่อกระแสไฟฟ้าถูกดึงไปใช้ในการระบายความร้อน และ กำลังไฟที่เหลือไม่เพียงพอต่อการจ่ายให้กับอุปกรณ์อื่น เช่น Mainboard เป็นต้น.


2. ความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบายออกไปได้ทัน เนื่องจากระบบระบายความร้อนด้อยประสิทธิภาพ หรือ ไม่มีระบบระบายความร้อนที่พอเพียง ระบบจะป้องกันตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อระบบ โดยการหยุดการทำงาน หรือ ตัดการจ่ายไฟเข้าระบบ

ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ระบบจะหยุดการทำงาน มักจะเกิดอาการ Hang หรือ เครื่องดับไปเฉยๆ โดยที่ หลอดไฟLED ที่แสดงสถานะไฟฟ้า หน้าเครื่อง ยังติดสว่างอยู่ หรือ ดับไป แต่ หลอดไฟ LED ที่แสดงสถานะ Standbyบน Mainboard ยังคงติดสว่างอยู่

ส่วนสาเหตุอื่นที่พิจารณาเป็นลำดับถัดๆ ไป คือ มีอุปกรณ์ในระบบเกิดอาการชำรุดเสียหาย เช่น Mainboardไหม้เนื่องจากไฟเกิน , Ram เสีย หรือ เกิดสนิม , Disk Drive หรือ Optical Drive อาจมีการชำรุดเสียหายส่งผลต่อระบบ การ์ดอื่นๆ อาจเกิดการชำรุดเสียหาย หรือ ท้ายที่สุดเกิดปัญหาจาก Software เป็นปัญหาได้.

ฝากข้อคิดให้กับท่านที่จะเลือกซื้อ power supply ดังนี้



          ๑. อย่าดูแค่ว่ากี่วัตต์ ดูให้ดี ๆ ว่าแผง 12v นะจ่ายกระแสพอไหม อุปกรณ์รุ่นใหม่ ๆ มักกินไฟหนักที่ไฟตรงนี้ แนะนำว่ารวมกันประมาณ 25A ขึ้นไปเป็นอย่างน้อย
          ๒. เล็งให้ดีว่าเครื่องของคุณเป็นแบบ 20 pin เข้า mainboard 4 pin เข้า CPU หรือเปล่า แล้วมาดูว่าเจ้าpower supply เขาออกแบบมาให้เสียบได้ แบบนั้นไหม ถ้าไม่ตรงกันมันแยกออกมา หรือมีสายอีกชุดที่ีเสียบเข้าได้พอดีหรือเปล่า
          ๓. ถ้าต้องการชัวร์ ๆ อยากได้ของดีแน่ ๆ ให้เลือกจากยี่ห้อดังต่อไปนี้ Corsair, Enermax, SeaSonic, Power PC & Cooling, Silverstone, Tagan, FSP และ BFG tech ส่วน CoolMAX, Antec และ OCZ นั้นใช้ได้แต่ต้องดูเป็นรุ่น ๆ ไป ส่วนท่านที่แค่จะเน้นถูกและดี(สมราคา)นั้น ยี่ห้อ Delta ทำในไทยนั้นทนทาน ใช้ได้เลย
          ๔. รุ่นที่ดีนั้นจะมี active PFC (Power Factor correction) ทำให้ประหยัดไฟขึ้น
          ๕. เลข 80 ที่อยู่ในกรอบข้างกล่องหมายถึงว่า รุ่นนั้นเขามีประสิทธิภาพสูงเกิน 80 เปอร์เซ็นต์ จะประหยัดไฟกว่ารุ่นธรรมดา


          ๖. Watt มาก ๆ ไม่ได้หมายความว่าจะกินไฟมากกว่า เป็นสเปคที่บอกว่าจ่ายไฟได้สูงสุดเท่าไหร่เท่านั้น


          ๗. power supply มักจะออกแบบมาให้จ่ายไฟได้มีประสิทธิภาพสูงสุดประมาณครึ่งหนึ่งของ rated watt เช่นรุ่น 500 Watt ก็จะไปทำงานได้ดีที่สุดช่วง 200-300 watt








เพาเวอร์ซัพพลาย : กี่วัตต์จึงจะพอ


มักจะมีคำถามว่า ควรใช้ เพาเวอร์ซัพพลายกี่วัตต์จึงจะพอ


ส่วนใหญ่ผู้ขายมักจะแนะนำให้ซื้อรุ่นที่มีวัตต์มาก ๆ เข้าไว้ เพื่อป้องกันปัญหาวัตต์ไม่พอ ถ้าเป็น เพาเวอร์ซัพลาย ยี่ห้อธรรมดา ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็น เพาเวอร์ซัพพลาย ยี่ห้อดี ๆ ราคาก็จะต่างกันมาก แม้จะมีวัตต์ต่างกันเพียง50 วัตต์


เมื่อตัดสินใจที่จะใช้ เพาเวอร์ซัพพลาย ยี่ห้อดี ๆ แล้ว ก็ควรมีความรู้ในการคำนวณหาความต้องการวัตต์ที่แท้จริงของพีซี ว่าต้องการใช้ เพาเวอร์ซัพพลาย กี่วัตต์กันแน่ จะได้ประหยัดเงินเอาไว้ซื้ออุปกรณ์อย่างอื่นที่จำเป็นจะดีกว่า





อย่างไรก็ตาม หากเครื่องคอมพิวเตอร์ มีกำลังวัตต์ไม่เพียง ก็จะเป็นสาเหตุให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีอาการรวน ต่าง ๆ เช่น เครื่องค้าง (Hang) หน้าจอขึ้นสีฟ้า หรือมีอาการวูบดับไปเฉย ๆ เป็นต้น จึงต้องคำนวณหาจำนวนวัตต์ที่เพียงพอด้วย


ลองดูตารางต่อไปนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการคำนวณหาความต้องการวัตต์ของเครื่องคอมพิวเตอร์







อุปกรณ์

กำลังวัตต์ที่ใช้

CPU Pentium4 3.0 GHz

115

Mother board

25

Hard disk 120 GB SATA

30

CD-RW DVD ROM drive

30

RAM DDR400 1GB

10

Floppy disk drive

5

AGP Card

30

USB Device

3

Keyboard

1.25

Mouse

1.25

Cooling Fan

2

รวม

252.5





ตามตารางข้างบน จะเห็นว่าใช้ เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 300 W ก็น่าจะเพียงพอ แต่ถ้าใช้ฮาร์ดดิสก์ ตัว ซึ่งกินไฟ 30W รวมเป็น 282.5W ซึ่งใกล้กับ 300W ก็น่าจะใช้ เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 350W จึงจะปลอดภัยที่สุด เพราะอุปกรณ์แต่ละชิ้นแต่ละรุ่นก็กินไฟต่างกัน ตารางข้างบนเป็นค่าประมาณเท่านั้น





เลือกกำลังไฟที่เพียงพอต่อคอมพิวเตอร์ 
ดูจากฉลากด้านข้างตัวอุปกรณ์ซึ่ง Power Supply รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะระบุมาอย่างชัดเจน ด้วยกำลังไฟที่จ่ายได้ต่ำสุด-สูงสุด รวมถึงไฟเลี้ยงและค่าต้านทานที่เหมาะสมโดยที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะอยู่ที่ ประมาณ 350-500วัตต์ แต่ถ้าเป็นกลุ่มเกมเมอร์ก็จะสูงขึ้นไปอีกด้วยคือ 500-750 วัตต์ ยิ่งถ้าเป็นเกมการ์ดแบบคู่ไม่ว่าจะเป็น SLIหรือ CrossFire ซึ่งการ์ดแต่ละตัวต้องใช้ไฟเลี้ยงเพิ่มเติมด้วยแล้ว อาจต้องก้าวไปถึง 700 วัตต์ เลยทีเดียว มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ต่อพ่วงภายในด้วยเช่นกัน หากสงสัยวาคอมพิวเตอร์ของตนที่ใช้อยู่หรือกำลังจะซื้อ ต้องใช้ Power Supply ขนาดไหน สามารถเข้าไปคำนวณการใช้พลังงานของเครื่อง เพื่อใช้ในการเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลายได้ง่ายๆ โดยมีเว็บไซต์หลายที่ให้บริการคำนวณ เช่น  การใช้งานเพียงกรอกรายละเอียดอุปกรณ์ที่ใช้ลงไปก็จะคำนวณการใช้งานออกมาให้ทันที

ข้อแนะนำ : เมื่อคุณเปลี่ยน Mainboard เป็นรุ่นใหม่ซึ่งต้องใช้ 24 Pin Power Supply จะเป็น Mainboard รุ่นใหม่ สำหรับ CPU รุ่นใหม่ เช่น Intel socket 775 ซึ่งจะใช้กำลังไฟสูง ดังนั้น Power Supply เก่าที่คุณมีอยู่ใช้งานมานานกำลังไฟที่จ่ายออกมาได้อาจจ่ายไฟไม่เพียงพอ ก็จะทำให้เครื่อง รวน หรือ แฮงค์ ซึ่งจะเป็นปัญหาให้คุณแก้ไขต่อไป ทางที่ดี ควรเปลี่ยน Power Supply ใหม่ เป็นรุ่น 24 Pin และ สามารถจ่ายกำลังไฟได้สูงพอสมควร ( ควรจะเกิน 400 Watt ขึ้นไป ซึ่งโดยปกติจะเป็นค่าการจ่ายกำลังไฟโดยการคำนวณสูงสุด แต่โดยธรรมชาติของตัว Power Supply แบบนี้ มักจะจ่ายกำลังไฟจริงไม่เต็มตามที่ระบุไว้ในรุ่นส่วนมากจะจ่ายกำลังไฟได้จริงประมาณ 50 - 70 % ของตัวเลขที่ระบุไว้บนแถบแสดงคุณสมบัติของ Power Supply นั้นๆ  ) โดยปกติ ราคาทั่วๆ ไปก็จะมีระดับราคาประมาณ 5 - 600 บาท ขึ้นไปจนถึงกว่า 1,000 บาท ต้นๆ ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้วครับ.. 

·         แต่หากคุณมีอุปกรณ์ที่อยู่ในเครื่องจำนวนมาก และ ต้องการกำลังไฟสูง และ เสถียรมากๆ เช่น นำไปทำเป็น PC Server , Workgroup Server เป็นต้น ควรใช้ Power Supply ที่มีเสถียรภาพดีๆ เช่น ยี่ห้อ Enermax หรือ SevenTeam ซึ่งขนาด 250 - 300 Watt จะมีราคาประมาณ 1,800 - 2,000บาทขึ้นไป ตามกำลังที่จ่ายไฟได้และตามคุณภาพที่มีในรุ่นนั้นๆ ( Power Supply สองยี่ห้อนี้ จะมีคุณภาพสูง กำลังการจ่ายพลังงานไฟฟ้าเต็มตามที่ระบุไว้ตามขนาดเสมอ)


·         โดยปกติ เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า โดยทั่วๆ ไปมักจะต้องการกำลังไฟในการทำงานอยู่ที่ประมาณ 135 - 250 Watt ส่วนคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ มักต้องการกำลังไฟประมาณ 250 - 380 Wattครับ. หากมีอุปกรณ์พิเศษอื่นเพิ่มเติม เช่น Harddisk ที่มากกว่า ตัว , Optical Drive ที่มากกว่า ตัวการ์ดแสดงผล ( Display Card ) ที่มี GPU รุ่นใหม่ใช้กำลังไฟสูง มีชุดระบายความร้อนเฉพาะตัว เป็นต้น ก็ต้องจัดหา Power Supply ที่สามารถจ่ายกำลังไฟสูงขึ้น เพื่อจ่ายกำลังไฟให้เครื่องสามารถทำงานได้


·         หลักการเลือก Power Supply มาใช้งาน ควรเลือกเผื่อกำลังไฟในเครื่องที่ต้องการใช้ สัก 30 %หมายถึง กำลังไฟที่จะใช้ในเครื่องควรจะเป็น 70 % ของกำลังไฟที่ Power Supply ที่เลือกมาใช้ครับ. เนื่องจากเมื่อระยะเวลาการใช้งานผ่านไป ขีดความสามารถในการทำงานของ Power Supply จะลดลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของ Power Supply ที่เลือกใช้ด้วยครับ ถ้าเป็นเลือกที่ราคาถูก อัตราการลดกำลังก็จะสูงกว่า  รุ่นที่ราคาสูง จะมีความถดถอยในการจ่ายกำลังไฟที่น้อยกว่า ซึ่งหมายถึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่านั่นเอง

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิเคราะห์เพาเวอร์ซัพพลาย 450 w

1.Fuse 6.3A












2.Bridge บริดแบบสำเร็จรูป 4 ขา












3.Switching
-Diode 1N4148

                












-SBL2040


                











 -HBR20100

                  














-SBL3040
                











 -KN2907

                













 -W13009

                  












-C945

                













 -C1815











4.IC Regulator
 -SG6105Z












5.Capacitor
-C 470uF/200V












6.IC
 -SG6105Z

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข้อดี-ข้อเสียของเพาเวอร์ซัพพลาย

Power Supply - 450W
เพาเวอร์ซัพพลาย 450 วัตต์รุ่นนี้ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการ เพาเวอร์ซัพพลาย ที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับการทำงานหนักได้อย่างไม่มีปัญหา ขณะเดียวกันก็เหมาะสำหรับนักเล่นเกม ที่ต้องการประหยัดงบประมาณ และยังคงได้ประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับ เพาเวอร์ซัพพลาย รุ่นใหญ่
เพาเวอร์ซัพพลาย 
คุณสมบัติ
  • เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 450W
  • 230V Active PFC
  • มาตรฐาน Intel ATX 12V V 2.0 และ  Intel EPS 12V V2.1
  • สนับสนุน Intel LGA775 Prescott Pentium 4 และ AMD Athlon 64
  • สาย +12V1, +12V2 ( 2 ชุด)
  • สนับสนุนมาตรฐาน BTX
  • หัวต่อเมนบอร์ด 24pin
  • เสียงเงียบ
  • ความร้อนต่ำ ด้วยเทคโนโลยีการควบคุมพัดลม แบบ intelligent-thermal
  • สาย +12V ให้กระแสไฟที่มากกว่า เพื่อรองรับการขยายฮาร์ดแวร์
  • ระบบป้องกัน OVP (Over Voltage Protection) และ  OCP (Over Current Protection) แยกอิสระ 
    เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีเป็นอย่างไร
  • เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีความสามารถในการจ่ายไฟเต็ม maximum load ตามสติกเกอร์ที่ติดข้าง เพาเวอร์ซัพพลาย ที่เรียกว่า วัตต์แท้ หรือ วัตต์เต็ม เพาเวอร์ซัพพลาย ราคาถูกมักติดสติกเกอร์เกินจำนวนวัตต์จริง เพราะผู้ใช้ไม่มีเครื่องมือวัดวัตต์ที่แท้จริง
  • เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีระบบป้องกันไฟเกิน ไฟกระชาก โดยเสปกต้องระบุว่ามีคุณสมบัติ Over Voltage Protection (OVP) และ Over Current Protection (OCP)
  • เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีต้องจ่ายไฟอย่างสม่ำเสมอ มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยต้องมีคุณสมบัติที่เรียกว่า PFC (Power Factor Correction)
  • เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีระบบระบายความร้อนที่ดี เช่น มีพัดลมขนาดใหญ่กว่า มีครีบระบายความร้อน (Heat sink) ที่ใหญ่กว่า
เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพดีดูที่ตรงไหน
  1. รูปลักษณ์ภายนอก ควรเป็นกล่องที่ทำจากเหล็กที่มีความหนาพอสมควร และเคลือบด้วยสารกันสนิม เพาเวอร์ซัพพลาย ราคาถูกจะประหยัดต้นทุนในส่วนนี้จึงใช้แผ่นโลหะที่บางกว่า
  2. น้ำหนักดี เพราะ เพาเวอร์ซัพพลาย ที่วัตต์เต็มจะใช้ขดลวดทองแดงมากกว่า นอกนี้ครีบระบายความร้อนก็จะมีขนาดหรือพื้นที่กว้างกว่า ทำให้ เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพดีมีน้ำหนักมากกว่า
  3. ป้ายสติกเกอร์ ที่ติดข้างกล่องจะต้องมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน เช่น UL, FCC, Nemko (N), Semko (S), Demko (D) เป็นต้น
  4. ผลิตจากโรงงานที่เชื่อถือได้ ปัจจุบันมีโรงงานผลิต เพาเวอร์ซัพพลาย จำนวนมาก บางโรงงานจะเน้นการขายราคาถูกจึงลดคุณภาพวัตถุดิบ
เพาเวอร์ซัพพลาย ดีมีประโยชน์อย่างไร
  1. ประหยัดเงินในระยะยาว เพาเวอร์ซัพพลาย ราคาถูก จะให้วัตต์ต่ำ หรือต่ำกว่าสติกเกอร์ที่ติด เมื่อเราจะเพิ่มอุปกรณ์ในภายหลัง เช่น ฮาร์ดดิสก์ตัวที่สอง, ดีวีดี, เปลี่ยนวีจีเอที่ดีกว่าเดิม เราอาจต้องเปลี่ยน เพาเวอร์ซัพพลาย ด้วย หากมันจ่ายไฟได้ไม่พอ
  2. คอมพิวเตอร์มีความเสถียร แม้ในยามที่มี ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก หรือสัญญาณรบกวนของมอเตอร์ จากเครื่องดูดฝุ่น หรือเครื่องซักผ้า โดยไม่ทำให้คอมพิวเตอร์ดับ หรือถูกสัญญาณรบกวน
  3. ยืดอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์ เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพต่ำสามารถทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เสื่อมคุณภาพเร็วกกว่าที่ควร เนื่องจากการจ่ายไฟไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจ่ายไฟด้วยแรงดัน (volt) ที่สูงกว่าอุปกรณ์จะรับได้
  4. เพาเวอร์ซัพพลาย มีอายุการใช้งานมากกว่า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ไฟเกินกว่าที่ เพาเวอร์ซัพพลาย จะจ่ายได้ อาจทำให้ไม่สามารถบูตเครื่องได้ หรือทำให้เครื่องค้าง หรือขึ้นหน้าจอสีฟ้า แต่ถ้าใช้ไฟในระดับที่ เพาเวอร์ซัพพลาย จ่ายไฟสูงสุดได้เป็นเวลานาน ๆ ต่อเนื่องกัน ก็อาจทำให้ เพาเวอร์ซัพพลาย ไหม้ หรือระเบิดได้เหมือนกัน ดังนั้นหากต้องการ เพาเวอร์ซัพพลาย จำนวนวัตต์เท่าใดสำหรับคอมพิวเตอร์ ก็ควรมั่นใจว่าได้วัตต์เต็มจำนวนจริง ๆ รายละเอียดของบทความ
    Power Supply เป็นอุปกรณ์จ่ายไฟให้กับคอมพิวเตอร์ ติดตั้งอยู่บนเคส (บางคนเรียกกล่องเคสว่า CPU เป็นความเข้าใจผิด) โดย Power Supply มีหน้าที่แปลงไฟ จากกระแสสลับ 220V เป็นกระแสตรง 5V, 12V ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ โดยผ่านทางเมนบอร์ดด้วยขั้ว 20 + 4 pin เพื่อเลี้ยงไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น VGA Card ซึ่งบางรุ่นต้องการใช้ไฟเลี้ยงเพิ่มเติม Harddisk, Optical Drive [DVD-RW/Blu-ray] และอุปกรณ์ต่างๆ ที่คุณอาจหลงลืมไป ไม่ว่าจะเป็นพัดลมระบายอากาศ ต่างก็ใช้ไฟทั้งนั้น รวมทั้ง USB Port ต่างๆด้วย หลายๆคนก็เคยเจอว่า เสียบ Flash Drive แล้วเครื่องมองไม่เห็น หรือเสียบอุปกรณ์ USB เยอะๆแล้วบางอย่างใช้งานไม่ได้ นี่แหล่ะครับ สาเหตุจากไฟเลี้ยงจาก Power Supply ไม่เพียงพอ บางคนใช้ USB Port ด้านหน้าตัวเครื่อง ซึ่งพบปัญหาไฟไม่พอ จริงๆแล้วพอร์ต USB ที่อยู่หน้าเคส จะพ่วงมาจากขั้ว USB บนเมนบอร์ดอีกที ทางที่ดี แนะนำให้ใช้ USB Port ด้านหลังเครื่องจะดีกว่า ใครที่ชอบใช้สายพ่วงหรือ USB Hub อาจจะเจอปัญหาไฟไม่พอเหมือนกัน นั่นหมายความว่า พาวเวอร์ซัพพลายของคุณ จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ไม่เพียงพอเสียแล้ว

    ดังนั้น การเลือก Power Supply สักตัว คงไม่ใช่การเลือกซื้อ Power Supply ถูกๆ เพราะมันเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะชี้ชะตาอุปกรณ์ต่างๆว่า จะมีไฟเข้ามาเลี้ยงให้กับอุปกรณ์ต่างๆเพียงพอหรือไม่

    Power Supply ที่ติดมากับเคส ใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง
    Power Supply ที่ติดมากับเคส ใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง

    หลาย คนยังยึดติดกับ Power Supply ติดเคส โดยเฉพาะเคสราคาในกลุ่ม 1 พันต้นๆ จะมี Power Supply 450W ติดมาด้วย ถามว่าดีไหม ใช้งานได้ในระดับหนึ่ง ถ้าคุณประกอบคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ยังไงคุณก็ใช้ปกติ เพราะใช้งานแค่ พิมพ์งาน อินเตอร์เน็ต ดูหนัง ฟังเพลง แค่นั้น ไม่ได้ใช้อะไรมาก แต่เมื่อไรก็ตาม ที่คุณมีพฤติกรรมการใช้งานที่สูงขึ้น อยากจะหาการ์ดจอดีๆมาใส่ อยากจะเพิ่มจำนวน Harddisk เพื่อเก็บหนัง อยากจะหาอุปกรณ์ตกแต่ง พัดลมระบายอากาศเสียงดังกระหึ่ม อุปกรณ์พวกนี้ ต่างก็ต้องการการจ่ายไฟที่ดีและมีเสถียรภาพ รวมไปถึงอุปกรณ์ USB ที่บอกไปข้างต้น ทั้งเม้าส์ คีย์บอร์ด Flash drive, พรินเตอร์ ต่างก็ใช้ไฟกันทั้งนั้น

    เป็นที่ทราบกันว่า กระแสไฟฟ้าในประเทศไทยเรา มีการจ่ายไฟที่ไม่นิ่ง ไม่มีความเสถียรภาพ ถ้าเป็นอุปกรณ์ทั่วๆไปเช่น พัดลม โทรทัศน์ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ในเมื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ คุณต้องระลึกไว้ว่า อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุด คือ Harddisk นั่นเอง ถามว่าทำไมถึงคิดว่าฮาร์ดดิสก์สำคัญ ก็เพราะหากฮาร์ดดิสก์พังเพราะจ่ายไฟพอ ข้อมูลของคุณ หายไปแน่ๆ โดยเฉพาะงาน รายงานต่างๆที่ทำส่งอาจารย์ งานที่เอากลับมาทำที่บ้าน งานต่างๆที่คุณค้นคว้า หรือที่น่ากลัวที่คุณ ใครทีกำลังทำวิจัยหรือ Thesis เก็บข้อมูลมาเป็นแรมปี แต่สุดท้ายเครื่องดับ Power Supply ไหม้ เพราะจ่ายไฟให้ไม่พอ ทำให้ข้อมูลที่เพียรพยายามเก็บมาทั้งหมด รวมทั้งหนังต่างๆ ที่ผู้ชายหวงนักหวงหนา ก็เป็นอันสูญหายไปพร้อมกับฮาร์ดดิสก์ที่ลาโลกไปอย่างไม่มีวันกลับ

    ดังนั้น จึงมีคำตอบ สำหรับคำถามว่า

    - ทำไมพาวเวอร์แพงๆ มีราคาร่วม 2 - 3 พันบาท แล้วมันต่างยังไงกับพาวเวอร์ตัวละไม่กี่ร้อย

    - ทำไมต้องซื้อพาวเวอร์แพงๆด้วย ในเมื่อพาวเวอร์ตัวละไม่กี่ร้อย ก็ใช้งานได้เหมือนๆกัน

    สำหรับ ใครที่ใช้การ์ดจอแรงๆ กลุ่มนี้จะคิดว่า เอ พาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้อยู่ จ่ายไฟพอหรือไม่ ก็จะมีการสอบถามในกระทู้เวบบอร์ดต่างๆ ว่าการ์ดจอตัวนี้ พาวเวอร์ตัวนี้เอาอยู่หรือไม่
    เช่น ATI 4850 กลุ่มคนพวกนี้จะศึกษาว่า อุปกรณ์ที่จะเพิ่มเติมไปนั้น ใช้ไฟเท่าใด เพราะกลัวจะเล่นเกมไม่ได้นั่นเอง

    - จะไม่ตลกไปหน่อยเหรอ ถ้าคุณมีเงินซื้อการ์ดจอตัวละ 1 - 2 หมื่น แต่ดันงกพาวเวอร์ตัวละไม่กี่ร้อย ?????

    - ลงทุนไปเลยดีกว่า แพงหน่อย 2 - 3 พันบาท ถ้าคิดว่าเอาแค่พาวเวอร์ซัพพลายถูกๆ แล้วฮาร์ดดิสก์พัง เงินจำนวนนี้ ก็ไม่ต่างจากซื้อฮาร์ดดิสก์ใหม่หรอก ลงทุนครั้งเดียวเพื่อความสบายใจ ว่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่คุณใช้ ได้รับการจ่ายไฟเลี้ยงเพียงพอ และนิ่งพอที่จะรักษาอายุการใช้งานได้ยาวนาน เพื่อเก็บรักษาข้อมูลให้ยาวนานขึ้นไปอีก

    คำถาม

    "พาวเวอร์ซัพพลายแพงๆ ต่างจากพาวเวอร์ตัวละ 4 -5 ร้อยบาทอย่างไร"



    หากใช้งานทั่วไป คงไม่ต่างอะไรมากเพราะไม่ได้นำประสิทธิภาพอุปกรณ์มาใช้มากนัก
    แต่ ถ้าเสียบ HDD ตัวที่ 3 หรือ 4 แล้วไฟไม่พอ อาจจะทำให้ HDD เสียได้ (เพราะ HDD เป็นจานแม่เหล็กที่มีความ Sensitive ในเรื่องการจ่ายไฟมาก ถ้าไฟไม่พอ จานก็หมุนบ้าง ไม่หมุนบ้าง นี่คือสาเหตุของจานฮาร์ดดิสก์มีเสียงดัง หรือหมุนไม่นิ่ง) ทำให้การจ่ายไฟมีผลต่อการทำงานของฮาร์ดดิสก์โดยตรง) ลองเปรียบเทียบกับพัดลม ถ้าไฟไม่พอ พัดลมก็หมุนบ้าง ไม่หมุนบ้าง ซ้ำๆกันตลอด คิดว่าอะไรที่ควรจะเสีย ก็คือมอเตอร์พัดลมนั่นเอง ที่นี้ถ้ามอเตอร์หมุนฮาร์ดดิสก์ไม่ทำงาน จะหมุนหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ได้อย่างไร ปัญหาคือเรื่องข้อมูลที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ ก็จะหายไปด้วย เพียงเพราะประกอบคอมร่วมหมื่น แต่กลับประหยัดพาวเวอร์ตัวละไม่กี่ร้อยบาท

    อีก เรื่องที่น่าจะต้องคำนึงคือ จ่ายไฟนิ่งหรือไม่ ไม่ใช่การจ่ายไฟเต็มวัตต์ การจ่ายไฟนิ่ง จะมีผลกับการ Sensitive ของอุปกรณ์อย่าง Harddisk ด้วย ดังนั้นการเลือกพาวเวอร์ดีๆ ราคาแพง เพื่อถนอมและยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์นั่นเอง

    บางคน ถามก่อนเลยว่า เต็มวัตต์หรือไม่ วัตต์แท้หรือไม่ ลองมองดูเรื่องการจ่ายไฟนิ่ง - ไม่นิ่งด้วยก็ดี

    เคย มีคนบอกว่า พาวเวอร์ซัพพลายติดเคส หรือแบบถูกๆ ประเภทว่า วัตต์ละบาท แบบนี้ใช้ไปสักปีสองปี ตัวอุปกรณ์ข้างใน ซึ่งไม่ได้คุณภาพ อาจจะเสื่อมสภาพ ทำให้จ่ายไฟได้น้อยลง และเสียในที่สุด ลองพิจารณาดูว่า จะซื้อพาวเวอร์ซัพพลายแพงๆไปทีเดียวเลย ส่วนใหญ่ประกันก็ 2 - 3 ปีอยู่แล้ว เทียบกับพาวเวอร์ซัพพลายถูกๆ ใช้ไปสักพัก เพิ่มอุปกรณ์หน่อย ไฟไม่พอก็ต้องซื้อใหม่อยู่ดี เทียบค่าตัวแล้ว ต้องซื้อทั้งพาวเวอร์ถูก กับพาวเวอร์แพงเลยทีเดียว (แบบนี้ไม่จ่ายเยอะกว่าเหรอ)

    พาวเวอร์ดีๆ ไม่ใช่ใส่แล้วเปิดเครื่องติด แต่มันหมายถึงความเสถียรในการจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆด้วย ไม่ใช่เอาพาวเวอร์ถูกๆแต่ HDD ทำงานเสียงดัง เปิดแล้วเครื่องดับก็เข้าขั้นแย่ว่าฮาร์ดดิสก์จะลาโลกในไม่ช้า เพียงเพราะหวงประหยัดกับพาวเวอร์เกินไป

    คอมราคาลงเร็ว ซื้อพาวเวอร์แพงๆไว้ไม่เป็นไรหรอกครับ เพราะประกัน 3 ปี เปลี่ยนอุปกรณ์ได้เรื่อยๆ ไม่ต้องเปลี่ยนพาวเวอร์อีก

    อันนี้ ต้องเปลี่ยนความคิด แบบล้างสมองกันเลย

    เพราะ บางคนยังคิดว่า พาวเวอร์ติดเคสก็ได้ เคสราคาพันกว่าบาท มีพาวเวอร์มาให้ แต่กับพาวเวอร์ตัวละ 2 - 3 พัน แพงเว่อร์ ไม่มีเงินซื้อ (แต่คุณกลับซื้อการ์ดจอตัวละหมื่น) มันก็เหมือนกับ ทำไมคุณอยากได้แรม 4GB เพราะจะได้ทำงานได้เร็วๆ ถ้า 1GB โปรแกรมมันช้าไป นี่ก็เหมือนกัน ทำนองเดียวกัน แรมน้อย ทำงานช้า คุณก็อึดอัด อยากเพิ่มแรม ทำนองเดียวกัน ถ้าอุปกรณ์ต่างๆ ได้รับการจ่ายไฟที่ไม่ดีพอ มันก็คงอึดอัดเหมือนคุณ ถ้ามันเป็นคน ก็คงร้องบอกว่า เปลี่ยนได้แล้ว เพิ่มไฟได้แล้ว ไม่ใช่ตะบี้ตะบันใช้ไปจนเสีย เพราะหวงเงินซื้อพาวเวอร์

    ลองมองหา พาวเวอร์ซัพพลายที่จ่ายไฟได้เยอะๆ จ่ายไฟดีๆ นิ่งๆ แพงหน่อย แต่สบายใจไปอีกนาน ไม่ใช่ซื้อตัวละไม่กี่ร้อย สุดท้ายเสียหรือจ่ายไฟไม่พอ เงินที่คุณซื้อฮาร์ดดิสก์ใหม่ หรือเอาไปเคลม ค่าซ่อมคอม ค่ายกคอมไปที่ร้าน ก็แพงพอๆกันแหล่ะครับ

    วัตต์เต็ม วัตต์ไม่เต็ม

    Power Supply ก็มีเหมือนกับแอร์แหล่ะครับ ใครซื้อแอร์ เมื่อก่อนอาจจะเคยเห็นสติกเกอร์แปะ "เต็ม BTU" ถ้าเป็นแอร์ที่ไม่เต็ม BTU แล้วคุณใช้ในห้องที่กว้างเกินไป (ไม่ใช่สิ ไม่ใช่ห้องกว้างเกินไป แต่มันไม่เต็ม BTU จึงให้ความเย็ฯได้น้อย ส่งผลให้เครื่องทำงานหนักขึ้น) ดังนั้น BTU จริงๆที่แอร์ทำงานได้ ก็รองรับได้ไม่เพียงพอกับขนาดห้องของคุณ แอร์ก็ทำงานหนัก ส่งผลให้ค่าไฟแพง เมื่อแอร์ทำงานหนักมากก็น็อคไป

    อัน นี้ก็เหมือนกัน วัตต์แท้ ราคาค่อนข้างสูง ถามว่าดีไหม ดีแน่นอนกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้รับการจ่ายไฟให้คงที่และนิ่ง จะใส่ Harddisk 4 ลูก การ์ดจอแรงๆ ATI 4850 ก็ใส่ไปเลย แต่ถ้าวัตต์ไม่เต็ม แน่นอนอย่างหนึ่งอยู่ที่งบที่คุณมีด้วย มีงบพันเดียว ก็อาจจะได้พาวเวอร์ซัพพลายในระดับหนึ่ง ที่ว่า โอเค รองรับการจ่ายไฟได้ดีในระดับหนึ่ง แค่ VGA ทั่วๆไป ไม่แรงมาก ฮาร์ดดิสก์ 1 - 2 ลูก ก็ยังไหว

    ผมอยากให้เทียบกับแอร์บ้าน เพราะแอร์บ้านราคาหมื่นกว่าบาทก็มี ถามว่าเต็ม BTU ไหม ไม่เต็ม ค่าแอร์ถูก แต่ค่าไฟแพง (เพราะมันทำงานหนักขึ้น เนื่องจากไม่เต็ม BTU)
    กับอีกทาง เลือก แอร์เต็ม BTU ตัวละ 4 หมื่น แต่ให้ความเย็นเต็ม BTU ตามขนาดห้องของคุณ เย็นเร็วด้วย และประหยัดไฟด้วย ค่าไฟก็นิดเดียวเอง

    Q: ใช้ Harddisk 500GB ไฟพอไหม
    A: ไม่ว่าจะเป็น Harddisk ความจุสูง ขนาดใหญ่แค่ไหน ยังไงก็กินไฟพอๆกัน ไม่ใช่ว่า 750GB แล้วจะมีจานใหญ่กว่าปกติ มอเตอร์ใหญ่กว่า กินไฟมากกว่า แต่อยู่ที่กำลังไฟที่จ่ายให้ฮาร์ดดิสก์ เพียงพอหรือไม่ มากกว่า

    ถ้า คุณยังติดกับภาพพาวเวอร์ติดเคสถูกๆ ไม่ยอมเจียดเงินมาซื้อพาวเวอร์ดีๆสักตัว แต่กับการ์ดจอ ลงทุนเป็นหมื่น เพื่อให้เล่นเกมลื่นสมใจ สุดท้าย เครื่องดับ พาวเวอร์ไหม้ เพราะจ่ายไฟให้กับฮาร์ดดิกส์และการ์ดจอได้ไม่เพียงพอ ข้อมูลในฮาร์ดดิกส์ก็เสียดาย แถมต้องเสียเงินซื้อพาวเวอร์ซัพพลายใหม่อีก เพราะไม่รู้ว่า เคลมแล้วจะจ่ายไฟได้ดีหรือเปล่า แบบนี้ลองมองหาพาวเวอร์ซัพพลาย ที่จ่ายไฟได้เหมาะสมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของคุณดีกว่า

    อย่ามาถาม ว่า พาวเวอร์ตัวไหน ดีที่สุด ตราบใดที่คุณไม่ยื่นสเปคที่ใช้งาน เพื่อให้วิเคราะห์อุปกรณ์ที่ใช้ในเคส ว่าใช้ไฟเท่าไหร กี่วัตต์ ตราบใดที่คุณมองหาแต่พาวเวอร์ดีที่สุด เจ๋งที่สุด แต่อุปกรณ์ในเครื่องไม่ได้มีอะไรเลย ตราบใดที่ คุณไม่มองว่า อุปกรณ์ในเครื่องที่ใช้อยู่ หรือจะเปลี่ยนใหม่ พาวเวอร์จ่ายไฟได้พอหรือไม่ มันก็เหมือนกับ คุณซื้อโน๊ตบุคราคาเหยียบแสน แต่ดันไม่มีเงินซื้อกระเป๋าโน๊ตบุค เข้าทำนองเดียวกันเลย

    ประหยัดไม่เข้าเรื่อง พาวเวอร์ตัวละไม่กี่พัน คอมทั้งชุดปาเข้าไปสี่หมื่น สุดท้ายน้ำตาตกใน เพราะฮาร์ดดิสก์พัง ข้อมูลหาย

    ว่าด้วยเทคโนโลยี Active PFC

    PFC คือตัว Power Factor Correction นั่นคือการตรวจสอบค่าความผิดปกติของการจ่ายไฟ โดยจะมี 2 แบบคือ Passive กับ Active โดยปกติ Power Supply ทั่วๆไป จะเป็นแบบ Passive ราคาไม่สูงนัก แต่สำหรับ Power Supply ที่มีเทคโนโลยี Active PFC จะมีข้อดีคือ

    ตาม ปกติแล้ว เมื่อไฟบ้านเข้าสู่ Power Supply ก็จะแปลงกระแสไฟจากกระแสสลับ เป็นกระแสตรง และแน่นอนว่ามันจะมีการสูญเสียกำลังไฟในขณะที่แปลงไฟ แต่จะดีกว่าไหม ที่เทคโนโลยี Active PFC ให้การแปลงไฟ ลดค่าความสูญเสียลง ดังนั้น กระแสไฟที่คุณจะได้จ่ายให้อุปกรณ์ต่างๆ ก็จะมากขึ้นด้วย ส่งผลให้อุปกรณ์ต่างๆได้รับการจ่ายไฟที่ดีและมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น บางคนอาจจะเปิดคอมพิวเตอร์ไว้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีปิดเลย ถ้าได้พาวเวอร์ซัพลายที่มีเทคโนโลยี Active PFC รับรองไม่ต้องห่วงเรื่องไฟ เรื่องแฮ้งค์เลย

    จากที่อ่านมาทั้งหมด หลายๆคนคงจะอยากลองเปิดดูในเคส ว่าพาวเวอร์ซัพพลายของเรา จ่ายไฟได้ดีหรือไม่ เพราะรู้สึกหวงแหนอุปกรณ์ในตัวเคสแล้วล่ะสิครับ

    ใคร ที่เคยติดตั้งไดร์ว DVD-RW หลายๆตัว หรือมีทั้ง DVD-ROM, DVD-RW, CD-RW แล้ใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง วินโดวส์เจอไดร์วบ้าง ไม่เจอบ้าง ก็คงถึงบางอ้อกันแล้วใช่ไหมครับว่า เป็นเพราะพาวเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟไม่พอนั่นเอง

    เตือนไว้กันลืม เวลาที่เราเปลี่ยนพาวเวอร์ซัพพลาย จะต้องปิดเครื่อง ถอดปลั๊ก และกราวน์ตัวเองจากไฟฟ้าสถิตย์ด้วยนะครับ
    Power Supply - 300W
    เพาเวอร์ซัพพลาย สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้อุปกรณ์มาตรฐาน สำหรับงานในสำนักงาน หรือคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด
    เพาเวอร์ซัพพลาย
    คุณสมบัติ
    • เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 300W
    • combined power output ของ +5V & +3.3V รวมกันสูงสุด 120W
    • combined power output ของ +5V, +3.3V, +12V1 & +12V2 รวมกันสูงสุด 290W เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีเป็นอย่างไร
    • เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีความสามารถในการจ่ายไฟเต็ม maximum load ตามสติกเกอร์ที่ติดข้าง เพาเวอร์ซัพพลาย ที่เรียกว่า วัตต์แท้ หรือ วัตต์เต็ม เพาเวอร์ซัพพลาย ราคาถูกมักติดสติกเกอร์เกินจำนวนวัตต์จริง เพราะผู้ใช้ไม่มีเครื่องมือวัดวัตต์ที่แท้จริง
    • เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีระบบป้องกันไฟเกิน ไฟกระชาก โดยเสปกต้องระบุว่ามีคุณสมบัติ Over Voltage Protection (OVP) และ Over Current Protection (OCP)
    • เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีต้องจ่ายไฟอย่างสม่ำเสมอ มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยต้องมีคุณสมบัติที่เรียกว่า PFC (Power Factor Correction)
    • เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีระบบระบายความร้อนที่ดี เช่น มีพัดลมขนาดใหญ่กว่า มีครีบระบายความร้อน (Heat sink) ที่ใหญ่กว่า
    เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพดีดูที่ตรงไหน
    1. รูปลักษณ์ภายนอก ควรเป็นกล่องที่ทำจากเหล็กที่มีความหนาพอสมควร และเคลือบด้วยสารกันสนิม เพาเวอร์ซัพพลาย ราคาถูกจะประหยัดต้นทุนในส่วนนี้จึงใช้แผ่นโลหะที่บางกว่า
    2. น้ำหนักดี เพราะ เพาเวอร์ซัพพลาย ที่วัตต์เต็มจะใช้ขดลวดทองแดงมากกว่า นอกนี้ครีบระบายความร้อนก็จะมีขนาดหรือพื้นที่กว้างกว่า ทำให้ เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพดีมีน้ำหนักมากกว่า
    3. ป้ายสติกเกอร์ ที่ติดข้างกล่องจะต้องมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน เช่น UL, FCC, Nemko (N), Semko (S), Demko (D) เป็นต้น
    4. ผลิตจากโรงงานที่เชื่อถือได้ ปัจจุบันมีโรงงานผลิต เพาเวอร์ซัพพลาย จำนวนมาก บางโรงงานจะเน้นการขายราคาถูกจึงลดคุณภาพวัตถุดิบ
    เพาเวอร์ซัพพลาย ดีมีประโยชน์อย่างไร
    1. ประหยัดเงินในระยะยาว เพาเวอร์ซัพพลาย ราคาถูก จะให้วัตต์ต่ำ หรือต่ำกว่าสติกเกอร์ที่ติด เมื่อเราจะเพิ่มอุปกรณ์ในภายหลัง เช่น ฮาร์ดดิสก์ตัวที่สอง, ดีวีดี, เปลี่ยนวีจีเอที่ดีกว่าเดิม เราอาจต้องเปลี่ยน เพาเวอร์ซัพพลาย ด้วย หากมันจ่ายไฟได้ไม่พอ
    2. คอมพิวเตอร์มีความเสถียร แม้ในยามที่มี ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก หรือสัญญาณรบกวนของมอเตอร์ จากเครื่องดูดฝุ่น หรือเครื่องซักผ้า โดยไม่ทำให้คอมพิวเตอร์ดับ หรือถูกสัญญาณรบกวน
    3. ยืดอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์ เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพต่ำสามารถทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เสื่อมคุณภาพเร็วกกว่าที่ควร เนื่องจากการจ่ายไฟไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจ่ายไฟด้วยแรงดัน (volt) ที่สูงกว่าอุปกรณ์จะรับได้
    4. เพาเวอร์ซัพพลาย มีอายุการใช้งานมากกว่า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ไฟเกินกว่าที่ เพาเวอร์ซัพพลาย จะจ่ายได้ อาจทำให้ไม่สามารถบูตเครื่องได้ หรือทำให้เครื่องค้าง หรือขึ้นหน้าจอสีฟ้า แต่ถ้าใช้ไฟในระดับที่ เพาเวอร์ซัพพลาย จ่ายไฟสูงสุดได้เป็นเวลานาน ๆ ต่อเนื่องกัน ก็อาจทำให้ เพาเวอร์ซัพพลาย ไหม้ หรือระเบิดได้เหมือนกัน ดังนั้นหากต้องการ เพาเวอร์ซัพพลาย จำนวนวัตต์เท่าใดสำหรับคอมพิวเตอร์ ก็ควรมั่นใจว่าได้วัตต์เต็มจำนวนจริง ๆ

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อาการเสียของเพาเวอร์ซัพพลาย

อาการ

เปิดติดแต่ไม่บู๊ต

หมาย ถึงเปิดแล้ว พัดลมของ เพาเวอร์ซัพพลาย หมุน แต่เครื่องไม่บู๊ต เป็นไปได้ว่า เพาเวอร์ซัพพลาย ไม่สามารถจ่ายไฟให้คอมพิวเตอร์ หรือจ่ายไฟได้ไม่พอ กรณีนี้ เพาเวอร์ซัพพลาย อาจจะไม่เสีย แต่จ่ายไฟได้ไม่พอกับกำลังที่คอมพิวเตอร์ต้องการ



อุปกรณ์บางตัวในคอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน

อุปกรณ์ บางตัวไม่ทำงาน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม การ์ดจอ ไม่ทำงาน สาเหตุอาจเกิดจาก เพาเวอร์ซัพพลาย ไม่จ่ายไฟให้อุปกรณ์เหล่านั้นก็ได้ ตรวจสอบให้ก่อน อุปกรณ์อาจไม่เสีย แต่ที่เสียคือ เพาเวอร์ซัพพลาย



คอมดับพอเปิดสักพักก็ดับ พอเปิดอีกก็ดับไม่ได้ต้องถอดปลั๊กออก...แล้วเสียบใหม่ก็เปิดได้..แต่ก็ดับ

ตาม หลักการ เมื่อระบบเริ่มทำงาน ระบบระบายความร้อน ยังไม่ทำงานเต็มระบบนัก จึงยังคงใช้พลังงานไฟฟ้าไม่มาก ต่อเมื่อทำงานไปได้สักระยะหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ.

1. ความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวแปรที่ทำให้ระบบ สั่งงานให้พัดลมระบายความร้อน ทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะ ชุดระบายความร้อนของ CPU , การ์ดจอภาพ ( ถ้ามี ) , ในชุด Power Supply เอง ดังนั้นต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เมื่อกระแสไฟฟ้าถูกดึงไปใช้ในการระบายความร้อน และ กำลังไฟที่เหลือไม่เพียงพอต่อการจ่ายให้กับอุปกรณ์อื่น เช่น Mainboard เป็นต้น.

2. ความ ร้อนสะสมที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบายออกไปได้ทัน เนื่องจากระบบระบายความร้อนด้อยประสิทธิภาพ หรือ ไม่มีระบบระบายความร้อนที่พอเพียง ระบบจะป้องกันตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อระบบ โดยการหยุดการทำงาน หรือ ตัดการจ่ายไฟเข้าระบบ

ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ระบบจะหยุดการทำงาน มักจะเกิดอาการ Hang หรือ เครื่องดับไปเฉยๆ โดยที่ หลอดไฟ LED ที่แสดงสถานะไฟฟ้า หน้าเครื่อง ยังติดสว่างอยู่ หรือ ดับไป แต่ หลอดไฟ LED ที่แสดงสถานะ Standby บน Mainboard ยังคงติดสว่างอยู่